fbpx

โรคนิ้วล็อก Trigger finger ภัยเงียบที่ใกล้ตัว

โรคนิ้วล็อก หรือ Trigger Finger เป็นภาวะที่พบได้ง่ายที่สุดในบุคคลที่มีกิจกรรมการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้มือ หรือนิ้วมืออย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน โรคนี้มักเกิดจากการอักเสบบริเวณช่องเส้นเอ็นของนิ้วพับทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกที่ข้อนิ้ว 

โดยในบทความนี้ เราจะพูดถึงวิธีการรักษาโรคนิ้วล็อกเพื่อลดอาการ และเสริมสุขภาพของนิ้วมือให้ห่างไกลจากภัยเงียบของโรคนิ้วล็อก (Trigger finger)

ทำความเข้าใจโรคนิ้วล็อก Trigger finger

อาการของโรคนิ้วล็อก (Trigger finger) เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้การขยับนิ้วติดขัด หากงอข้อนิ้วมือจะไม่สามารถเหยียดตรง หรือกลับคืนได้เหมือนเดิม หรือรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อคไว้ จึงเรียกว่า “โรคนิ้วล็อก (Trigger finger)” นั้นเอง

สาเหตุของโรคนิ้วล็อก (Trigger finger)

โรคนิ้วล็อกเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • บุคคลที่มีความจำเป็นต้องทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้นิ้วมืออยู่เป็นประจำ  เช่น การใช้คีย์บอร์ด การเขียน พฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ หรือทำเป็นเวลานานๆ
  • โรคนิ้วล็อก (Trigger finger) มักพบได้มากในเพศหญิง และผู้สูงอายุ เนื่องจากอายุที่มากขึ้น กับการใช้งานนิ้วมือที่สะสมมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของเซลล์ และเส้นเอ็น ที่ก่อให้เกิดการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อรอบ ๆ นิ้วมือ จนเกิดโรคขึ้นได้
  • พบมากในกลุ่มบุคคลที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือโรครูมาตอยด์

อาการของโรคนิ้วล็อก (Trigger finger)

อาการของโรคนิ้วล็อก (Trigger finger) แบ่งออกเป็น 4 ระยะ 

ระยะที่ 1 : กดเจ็บ ปวด หรือตึงบริเวณข้อโคนนิ้ว งอนิ้วสะดุด แต่ยังสามารถเคลื่อนไหวนิ้วได้ตามปกติ

ระยะที่ 2 : หากลองกำมือ แล้วแบมือออก จะมีอาการงอนิ้วสะดุด เกิดอาการนิ้วล็อก ติด เหยียดนิ้วตรงไม่ค่อยได้ ต้องใช้มืออีกข้างช่วยง้างออก

ระยะที่ 3 : หากกำมือ นิ้วมือจะล็อก ติด จนง้างนิ้วมือเองออกมาได้ยาก อาจมีอาการมือกำค้าง จนไม่สามารถเหยียดนิ้วตรงออกได้ หากพยายามใช้มืออีกข้างช่วยง้างออก จะเกิดอาการปวดร่วมด้วย

ระยะที่ 4 : ในระยะนี้หากกำมือ นิ้วมือจะรู้สึกกำไม่ลง กำมือได้ไม่สุด ในบางรายนิ้วมืออาจงอผิดรูปจากปกติร่วมด้วย เนื่องจากปลอกเส้นเอ็นเกิดสภาวะตีบแคบลง จนทำให้เอ็ดยึด ติด ไม่สามารถขยับนิ้วได้ตามปกติ

ข้อความหัวข้อ คำอธิบาย
ทำความเข้าใจโรคนิ้วล็อก อธิบายความหมายการเกิดโรคนิ้วล็อก (Trigger finger)
สาเหตุของโรคนิ้วล็อก อธิบายสาเหตุการเกิดโรคนิ้วล็อก (Trigger finger)
อาการของโรคนิ้วล็อก อธิบายอาการการเกิดโรคนิ้วล็อก (Trigger finger)

การรักษา และบรรเทาอาการของโรคนิ้วล็อก (Trigger finger)

การหยุดพัก หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำกิจกรรมต่าง ๆ

โดยหยุดพักการใช้มือ หรือพักการทำกิจกรรมต่าง ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ต้องใช้มือออกแรง หรือเกร็งเป็นระยะเวลานาน ๆ

การคลายนิ้วล็อกง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน

คลายนิ้วล็อก (Trigger finger) ด้วยการแช่น้ำอุ่น 5-10 นาที เพื่อบรรเทาให้อาการทุเลาลง หรือประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม

การใช้ยาในการรักษาโรคนิ้วล็อก (Trigger finger)

รักษาด้วยยาต้านการอักเสบแบบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น ibuprofen หรือ naproxen (ควรปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุในฉลากยา และปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หากมีการบริโภคยาอื่น หรือมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ควรขอคำแนะนำเพิ่มเติม) มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งกระบวนการอักเสบ ทำให้สามารถช่วยลดอาการบวมลงได้ และสามารถทายาลดการอักเสบร่วมด้วยได้ โดยห้ามนวดบริเวณที่เกิดอาการนิ้วล็อกเด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นเอ็นเพิ่มมากขึ้น 

นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะที่ 3-4 หรืออาการนิ้วล็อกไม่ดีขึ้นเลย มักจะใช้การรักษาโดยการฉีดสารสเตียรอยด์ (steroids) เป็นการฉีดสารคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) บริเวณที่เกิดการอักเสบในร่องเส้นเอ็น เพื่อลดอาการบวม และอักเสบ เพื่อช่วยให้นิ้วล็อกสามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้ปกติ

การรักษาด้วยการผ่าตัด

การผ่าตัด ในกรณีรักษาอาการนิ้วล็อกไม่หายขาด เป็นซ้ำบ่อย ๆ หรือมีอาการนิ้วล็อกขั้นรุนแรง ฉีดสารสเตียรอยด์ มากว่า หรือเท่ากับ 2 ครั้งแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัด เพราะการผ่าตัดจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมางอนิ้วมือได้อย่างปกติ โดยแทบไม่เกิดโอกาสแทรกซ้อนใด ๆ เลย โดยสิ่งสำคัญหลังผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องทำการบริหาร ด้วยการกำมือบ่อย ๆ ห้ามแผลโดนน้ำเป็นอันขาด

Trigger finger splint อุปกรณ์ช่วยรักษาโรคนิ้วล็อก

ผู้ป่วยที่มีปัญหานิ้วล็อกเรื้อรัง จะมีการใช้ Splint หรือการใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้ว เป็นการพักนิ้วที่จะช่วยให้นิ้วตรง ไม่ง้อ หรือเหยียดตรงมากเกินไป มักจะใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้ว หรือ Trigger finger splint ในช่วงเวลาก่อนนอน เพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วงอ เกร็ง ในเวลากลางคืน

Trigger finger splint หรืออุปกรณ์ด้ามนิ้ว ก่อนใช้งานตัวอุปกรณ์ควรทำความสะอาดบริเวณนิ้วล็อกให้สะอาด และแห้งสนิท สวมใส่ ตัวอุปกรณ์ให้กระชับพอดีกับนิ้วมือ ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป

ท่าบริหาร คลายนิ้วล็อก และการฟื้นฟูหลังการรักษา

หลังจากการรักษาโรคนิ้วล็อก (Trigger finger) ควรทำท่าบริหาร เพื่อเป็นการฟื้นฟูหลังการรักษา ช่วยให้เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อ  และเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และข้อต่อของนิ้วมือ ลดอาการบวม และอักเสบ อีกทั้งยังป้องกันการกลับมาเป็นโรคนิ้วล็อกได้อีกด้วย

ท่าบริหาร และการฟื้นฟูอาการนิ้วล็อก

ท่าบริหาร และการฟื้นฟูอาการนิ้วล็อกสามารถทำเองได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้:

1. แบมือ แล้วค่อย ๆ กำนิ้วเข้า จนเป็นกำปั้น 5-10 ครั้ง/ วัน

2. ค่อย ๆ แบมือออก แล้วนวดคลึงเบา ๆ บริเวณที่เป็นนิ้วล็อก เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

โรคนิ้วล็อก Trigger finger, Greenbell Clinic  โรคนิ้วล็อก Trigger finger, Greenbell Clinic

3. ทำท่า OK แล้วดีดนิ้วออก ทำแบบนี้วนไปจนครบทุกนิ้ว

โรคนิ้วล็อก Trigger finger, Greenbell Clinic  โรคนิ้วล็อก Trigger finger, Greenbell Clinic

4. การใช้  “Ball Exercise” โดยกำบอลให้แน่น นับ 1-3 แล้วคลายมือออก ทำแบบเดิมซ้ำจนครบ 15 รอบ

โรคนิ้วล็อก Trigger finger, Greenbell Clinic  โรคนิ้วล็อก Trigger finger, Greenbell Clinic

5. การแบมือ เหยียดนิ้วตรงเรียงกัน 4 นิ้ว ได้แก่ นิ้วชี้, นิ้วกลาง, นิ้วนาง, และนิ้วก้อย จากนั้นนำปลายนิ้วทั้ง 4 มาแตะให้โดนตรงกลางฝามือ

โรคนิ้วล็อก Trigger finger, Greenbell Clinic  โรคนิ้วล็อก Trigger finger, Greenbell Clinic

การกายภาพบำบัด

การรักษาโรคนิ้วล็อกที่คลินิกกายภาพบำบัด เน้นใช้เทคนิค และเครื่องมือที่เหมาะสมตามระยะอาการของโรคนิ้วล็อก เพื่อช่วยแก้ปัญหาอาการของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ทีมแพทย์ และนักกายภาพบำบัดมีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการรักษาโรคนิ้วล็อก เพื่อให้บริการที่มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานสูง

การรักษาโรคนิ้วล็อกที่คลินิกกายภาพบำบัดสามารถใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อ, การฝึกบริหารกล้ามเนื้อ, การใช้เครื่องมือช่วยการฟื้นฟู และการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน

กรีนเบลล์ สหคลินิก มีความเต็มใจที่จะให้บริการโรคนิ้วล็อก ด้วยความเข้าใจถึงความรู้สึกของคนไข้ จึงให้ความสำคัญต่อประสิทธิภาพการดูแลรักษาให้มีมาตรฐานสูง 

คุณสามารถติดต่อ กรีนเบลล์ สหคลินิก คลินิกกายภาพบำบัด เพื่อนัดหมาย หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรีนเบลล์ สหคลินิก 

เบอร์ติดต่อ : 02-096-4698 หรือติดต่อผ่านเว็บไซต์ : https://greenbellclinic.com

เมื่อไรควรไปพบแพทย์เพื่อรักษานิ้วล็อก

เมื่อคุณเริ่มพบอาการของโรคนิ้วล็อก เช่น นิ้วไม่สามารถงอ หรือเหยียดออกได้ด้วยตัวเอง หรือมีเสียงดัง กึก ระหว่างการขยับ หรือเคลื่อนไหวนิ้วมือ หรือมีความปวดเวลาขยับนิ้วมือ นั่นคือเวลาที่ควรพบแพทย์เพื่อรักษาโรคนิ้วล็อกทันที

นอกจากนี้ หากคุณมีปัญหาในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน เช่น การใช้งานคีย์บอร์ดหรือเครื่องมือต่าง ๆ ทำให้มีความลำบาก หรือถ้าอาการนิ้วล็อกมีความรุนแรงขึ้น ควรนัดหมายพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อประสานงานการรักษา และประเมินว่าจะต้องทำการรักษาใดบ้าง เพื่อให้คุณได้รับการดูแลที่เหมาะสม

ทั้งนี้ หากคุณมีคำถาม หรือข้อกังวลเกี่ยวกับอาการนิ้วล็อก ควรติดต่อแพทย์ หรือทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด เพื่อให้ได้คำแนะนำ และการดูแลที่เหมาะสมสำหรับคุณ

กรีนเบลล์ สหคลินิก: คลินิกกายภาพบำบัด และการรักษาโรคนิ้วล็อก (Trigger Finger)

ทีมแพทย์ และนักกายภาพบำบัดมืออาชีพ

กรีนเบลล์ สหคลินิก มุ่งมั่นในการให้บริการทางด้านกายภาพบำบัด และการรักษาโรคนิ้วล็อก Trigger Finger อย่างครบวงจร และมีคุณภาพมาตรฐานสูงในทุกระดับ พร้อมเทคนิคที่ทันสมัย และเครื่องมือช่วยการฟื้นฟูที่ทันสมัย โดยทีมแพทย์ และนักกายภาพบำบัดมืออาชีพของเรามีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการรักษาโรคนิ้วล็อกทุกระดับของความรุนแรง

การจองคิว และการติดต่อ

สำหรับการจองคิว หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาโรคนิ้วล็อกที่ กรีนเบลล์ สหคลินิก คุณสามารถติดต่อทีมงานของเราได้ทางโทรศัพท์ เบอร์ติดต่อ : 02-096-4698 หรือเว็บไซต์ : https://greenbellclinic.com ทีมงานของเรายินดีให้ความช่วยเหลือ และให้คำแนะนำ การจองคิว และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

FAQ

การรักษาโรคนิ้วล็อก (Trigger finger) ทำได้อย่างไร

ในการรักษาโรคนิ้วล็อก (Trigger finger) สามารถใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยลดอาการปวด บวม เช่น การใช้ยาต้านการอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคนิ้วล็อก (Trigger finger)

ทำความเข้าใจโรคนิ้วล็อก (Trigger finger)

โรคนิ้วล็อก (Trigger finger) เป็นอาการที่นิ้วมือเคลื่อนไหวได้ลำบาก เกิดการติดขัดในการขยับ หรือเหยียดนิ้วมือ ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การใช้มือมากเกินไป หรืออาการอักเสบในโรคนิ้วล็อก (Trigger finger)

อาการของโรคนิ้วล็อก (Trigger finger)

โรคนิ้วล็อก (Trigger finger) สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับระยะของโรคนิ้วล็อก (Trigger finger)

การใช้ยาในการรักษาโรคนิ้วล็อก (Trigger finger)

การใช้ยาในการรักษาโรคนิ้วล็อก Trigger finger สามารถใช้ยาต้านการอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือการฉีดสเตียรอยด์ในร่องเส้นเอ็น เพื่อช่วยลดอาการบวม และอักเสบในนิ้วล็อก (Trigger finger)

Trigger finger splint อุปกรณ์ช่วยรักษาโรคนิ้วล็อก

การใช้ Trigger finger splint ช่วยรักษาอาการนิ้วล็อก เช่การใช้ Trigger finger splint คืออุกรณ์สำหรับดามนิ้ว เป็นการพักนิ้วที่จะช่วยให้นิ้วตรง ไม่ง้อ หรือเหยียดตรงมากเกินไป

ท่าบริหาร คลายนิ้วล็อก และการฟื้นฟูหลังการรักษา

ท่าบริหาร และการฟื้นฟูหลังการรักษาโรคนิ้วล็อก เช่น ท่าบริหารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และข้อต่อ รวมถึงวิธีการฟื้นฟูหลังการบำบัด

การรักษาโรคนิ้วล็อกด้วยวิธีการผ่าตัด

การรักษาโรคนิ้วล็อกด้วยวิธีการผ่าตัดใช้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่สำเร็จ หรืออาการโรคนิ้วล็อกมีความรุนแรงมากเกินไป

เมื่อไรควรไปพบแพทย์เพื่อรักษานิ้วล็อก

ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรคนิ้วล็อก เมื่อมีอาการนิ้วล็อกที่เป็นสัญญาณเตือน นั่นคือเวลาที่ควรพบแพทย์เพื่อรักษาโรคนิ้วล็อกทันที

กรีนเบลล์ สหคลินิก: คลินิกกายภาพบำบัด และการรักษาโรคนิ้วล็อก

กรีนเบลล์ สหคลินิกเป็นคลินิกที่ให้บริการกายภาพบำบัด และการรักษาโรคนิ้วล็อก มีทีมแพทย์ และนักกายภาพบำบัดมืออาชีพพร้อมที่จะดูแล และรักษาโรคนิ้วล็อกของคุณ มีบริการการจองคิว และการติดต่อเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย

สรุป

การรักษาโรคนิ้วล็อก (Trigger finger) สามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลรักษาโรคนิ้วล็อกให้ตรงกับความต้องการของคุณ

บทความทั้งหมดเกี่ยวกับการรักษาโรคนิ้วล็อก (Trigger finger) เรียนรู้ถึงวิธีการรักษาที่หลากหลายในแต่ละระยะของโรคนิ้วล็อก การรักษาด้วยยาต้านการอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และการฉีดสเตียรอยด์ในร่องเส้นเอ็นเป็นต้น

นอกจากนี้ ยังเรียนรู้ถึงการใช้สิ่งอุปกรณ์ในการช่วยรักษาอาการโรคนิ้วล็อก เช่นการใช้ “Trigger finger splint” เพื่อยับยั้งการอักเสบในนิ้วล็อก รวมถึงท่าบริหาร และการฟื้นฟูหลังการรักษาเพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และข้อต่อ

หากคุณประสบอาการนิ้วล็อก หรือมีอาการผิดปกติใด ๆ เราขอแนะนำให้คุณพบแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในโรคนิ้วล็อก เพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสมกับคุณเอง

Start Your Therapy Now

Take the first step towards revitalized health and well-being! Schedule your appointment with Greenbell Medical Clinic and embark on a path to optimal wellness.